Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

๗.๑ พระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์


ท่านพุทธทาส ได้กล่าวถึงหลักการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) มีความฉลาด
2) มีเครื่องมือควบคุมความฉลาด
เพื่อให้ใช้ความฉลาดอย่างถูกต้อง มีวิชาชีพและอาชีพ เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ 3) มีมนุษยธรรม คือ ความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง พอตัวสอดคล้องกับแนวคิดของท่านปัญญานันทะได้กล่าวถึงการศึกษาที่สมบูรณ์ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา เป็นทางให้เกิดหูตาสว่าง มองการณ์ไกล เป็นปัญญาที่มีเหตุผล มีธรรมะคือสติ เป็นต้น คอยเหนี่ยวรั้งความคิดไม่ให้ดำเนินไปผิดทาง

พระธรรมปิฎก กล่าวถึงการศึกษาว่า การศึกษานั้นเป็นทั้งตัวการพัฒนาและเครื่องมือสำหรับพัฒนา คือ เป็นการพัฒนาตัวบุคคลขึ้นโดยพัฒนาตัวคนทั้งคนหรือชีวิตทั้งชีวิต ตัวการพัฒนานั้นคือการศึกษา เมื่อผู้เรียนมีการศึกษาอย่างนี้แล้ว ก็นำไปเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ การศึกษาก็กลายเป็นเครื่องมือของการพัฒนา”

ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการทางพระพุทธศาสนาที่จะนำมาเป็นพื้นฐานการจัดการศึกษาให้สมบูรณ์ เพื่อมุ่งเน้นให้มนุษย์เกิดความฉลาด
หรือเกิดปัญญา แล้วนำเอาปัญญาที่เกิดจากการศึกษามาพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ดังนี้คือ

1.มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการศึกษา
พระธรรมปิฎก กล่าวว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์อื่นในข้อที่ว่า เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกต้องศึกษา และฝึกได้ ศึกษาได้ มีหลักการที่ควรสังเกตสำคัญในเรื่องนี้ 2 อย่างคือ

  1. มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก หมายความว่า การดำเนินชีวิตอยู่ได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีได้นั้น แทบไม่มีอะไรเลยที่มนุษย์จะได้มาเปล่า ๆแต่ได้มาด้วยการศึกษาคือเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาขึ้นมาทั้งสิ้นต่างจากสัตว์อื่นทั่วไปที่ดำเนินชีวิตได้ด้วยสัญชาตญาณ แทบไม่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา
  2. มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ หมายความว่า การที่เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาได้นี้ เป็นความพิเศษของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีงาม
    ประเสริฐ เมื่อมนุษย์พัฒนาได้สูงสุด จึงถือเป็นผู้ประเสริฐแม้แต่เทวดา พระพรหมก็กราบไหว้เคารพนับถือ ต่างจากสัตว์อื่นทั่วไป
    ที่เกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร ก็ตายไปด้วยสัญชาตญาณอย่างนั้น

ในทางพระพุทธศาสนานั้น การพัฒนาชีวิตอย่างถูกต้องก็คือ การทำให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องที่จะนำเข้าสู่จุดมุ่งหมายคือการมีวิถีชีวิตที่ถูกต้องดี เราเรียกกันว่า มรรค คำว่ามรรค คือวิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามซึ่งนำไปสู่จุดมุ่งหมายได้ มรรคนี้เป็นของคู่กันกับหลักการอีกอย่างหนึ่งคือ สิกขา ดังนั้นหากต้องการให้มีชีวิตที่ถูกต้องดีงามก็ต้องมีการฝึกฝนหรือฝึกหัด และการฝึกฝนฝึกหัดให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องดีงามเราเรียกว่า สิกขา หรือศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษา ก็คือการฝึกฝนให้ชีวิตดำเนินไปในวิถีที่ถูกต้องดีงาม

ในเมื่อการศึกษาเป็นการฝึกฝนพัฒนาคน ให้ดำเนินไปในวิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ความหมายจึงตามมาว่า ตราบใดชีวิตของเรายังไม่สมบูรณ์ ยังมีความบกพร่อง ยังมีปัญหา ยังมีทุกข์ ตราบนั้นเราก็ยังต้องพัฒนาชีวิตกันเรื่อยไป นั่นก็คือ การศึกษาตลอดชีวิต หรือพัฒนาชีวิตกันตลอดชีวิตนั่นเอง

  1. หลักธรรมพื้นฐานของพระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์

หลักพุทธธรรมที่จะนำมาเป็นหลักในการประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

1.หลักพุทธธรรมที่เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาปัญหา ครอบคลุมทั้งระบบอย่างเป็นกระบวนการ หลักพุทธธรรมนี้จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางการศึกษาที่ดำเนินไปในทุกขั้นตอน หลักพุทธธรรมกลุ่มนี้คือ อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท

  1. หลักพุทธธรรมเชิงปฏิบัติการ เสริมในรายละเอียด เมื่อตรวจสอบพบจุดบกพร่องของกระบวนการศึกษา หรือกระบวนการเรียนการสอนนั้น การนำหลักพุทธธรรมนี้ไปใช้ก็ทำได้สองอย่างคือ ในฐานะทบทวนแผน (Re-planning) ตามความเป็นจริงที่ปรากฏออกมาจากการตรวจสอบด้วยหลักอริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท

ในเรื่องของการศึกษา หรือกระบวนการเรียนการสอน อันถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ก็ควรจะดำเนินไปโดยใช้อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาทมาเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่สำคัญ แล้วนำเอาเรื่องอื่นมาเป็นบริวาร หลักสำคัญที่จะต้องตระหนักไว้เสมอก็คือ การใช้หลักอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท มาเป็นหลักในการแก้ปัญหา หรือดำเนินการในเรื่องราวใด ๆ นั้น ต้องตรวจสอบเรื่องนั้น ๆ ทั้งระบบ เพื่อให้พบความจริง ไม่มองเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง แต่ตรวจสอบเพื้อค้นหาความจริงแล้วแก้ปัญหาตามเหตุปัจจัยที่ปรากฏ บางเรื่องอาจแก้ทั้งหมด บางเรื่องอาจจะแก้เพียงจุดใดจุดหนึ่งก็เพียงพอ

เมื่อเรานำหลักการพุทธธรรมมาใช้ในด้านการเรียนการสอนเราจะมองเฉพาะจุดเล็ก ๆ จุดเดียว ก็จะไม่ครอบคลุมประเด็นในทุก ๆ ด้าน ต้องทำความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่หลักสูตร อาคารสถานที่ ครูอาจารย์ บรรยากาศ อุปกรณ์ วัสดุครุภัณฑ์ ขวัญกำลังใจ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอยู่ ต้องนำมาพิจารณาให้หมด ตรงจุดไหนที่เห็นว่าดีอยู่แล้วก็รักษาไว้ แต่ส่วนที่บกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น การใช้หลักการนี้มาพัฒนา ผลออกมาจะมีความเจริญก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน และความจริงที่ถูกต้องก็คือ ทางสายกลางที่มีความสมดุลในทุกขั้นตอน

https://sites.google.com/site/budsarakon2538/bth-thi-7-sammna-phraphuthth-sasna-kab-kar-kae-payha-laea-kar-phathna/7-1-phraphuthth-sasna-kab-kar-suksa-thi-smburn/011.1C.jpg?attredirects=0

Advertisement

Published by Phon aotphim

introtopoetry, everydayinspiration

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: