Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

ตัณหา ๓


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ปัญญาในธรรมนั้น ก็รวมเข้าในญาณคือความหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อันได้แก่ ทุกข์ ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์ ทุกขนิโรธความดับทุกข์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แสดงทุกข์มาแล้ว ได้แสดงทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์มาส่วนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากเป็นทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์

ตัณหานั้นก็มีคุณลักษณะเป็น โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อภพชาติใหม่ หรือเป็นไปเพื่อภพคือความเป็นใหม่ นนฺทิราคสหคตา เป็นไปกับด้วยนันทิคือความเพลิน ราคะคือความติดใจยินดี ตตฺรตตฺราภินนฺทินี มีความเพลิดเพลินยิ่งขึ้นในอารมณ์นั้นๆ หรือในสิ่งนั้นๆ ซึ่งได้แสดงอธิบายไปแล้ว

และพระพุทธเจ้าได้ตรัสจำแนกตัณหาออกไปเป็น ๓ คือ กามตัณหา ตัณหาในกาม ภวตัณหา ตัณหาในภวะหรือภพ วิภวตัณหา ตัณหาในวิภพ หรือ วิภวะ ซึ่งจะได้แสดงอธิบายต่อไป

กิเลสกาม วัตถุกาม

กามตัณหา ตัณหาในกามนั้น คำว่า ตัณหา ได้มีคำแปลกันทั่วไป ว่าความดิ้นรนทะยานอยาก หรือความอยากที่ดิ้นรนไปของใจ กาม นั้นแปลว่าใคร่ มี ๒ คือ กิเลสกามกิเลสเป็นเหตุใคร่ วัตถุกาม วัตถุหรือพัสดุอันได้แก่สิ่งที่ใคร่ หรือที่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่นั้น กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่นั้น ก็ได้แก่นันทิความเพลิน ราคะความติดใจยินดี และกิเลสที่มีชื่ออื่น ซึ่งมีความหมายไปในทางรักใคร่ยินดีติดใจเพลิดเพลิน กิเลสกามนี้เป็นตัวเหตุที่บังเกิดขึ้นในวัตถุหรือพัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในที่ตั้งอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะไม่เป็นวัตถุ เมื่อกล่าวโดยสรุปก็บังเกิดขึ้นในรูปบ้าง ในเสียงบ้าง ในกลิ่นบ้าง ในรสบ้าง ในโผฏฐัพพะคือสิ่งถูกต้องบ้าง ซึ่งเป็นวัตถุโดยตรง และก็รวมถึงในธรรมะคือเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นเรื่องที่คิดนึกในจิตใจ จึงรวมเข้าเป็น ๖

เมื่อกิเลสกามบังเกิดขึ้นในสิ่งอันใด สิ่งอันนั้นก็เป็นวัตถุกามขึ้นมาทันที เช่นเมื่อมีความอยากดิ้นรนใจไปในรูป รูปก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที ในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที ถ้าหากว่ากิเลสกามไม่บังเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็เป็นวัตถุอยู่เฉยๆ ไม่เป็นกาม

ท่านแสดงวัตถุกามไว้โดยยกที่เป็นวัตถุขึ้นเป็น ๕ คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และก็เรียกกันว่ากามคุณมีอย่าง ๕ คือว่า ๕ อย่าง เรียกเป็นศัพท์ว่าเบญจพิธกามคุณ

กามคุณ กามคุณารมณ์

คำว่า กามคุณ นั้นบางทีก็เรียกกันว่า กามคุณารมณ์ อารมณ์ที่เป็นกามคุณ ซึ่งคำว่า คุณ นั้นมีความหมายเป็น ๒ คือมีความหมายว่า ทับถมกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ดั่งนี้ก็ได้ หมายถึงเป็น คุณ ที่ตรงกันข้ามกับ โทษ ก็ได้ และคำว่ากามคุณนั้นจึงหมายถึงเป็นกามที่บังเกิดขึ้น ทับถมซับซ้อนกันในจิตใจ ดั่งวัตถุกามทั้ง ๕ นั้น และก็หมายถึงว่าเป็นรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ อันนับว่าเป็นส่วนคุณ อันตรงกันข้ามกับโทษ

เพราะว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนั้น ก็มี คุณ คือเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ จึงให้คุณคือให้ความสุขส่วนหนึ่ง และกิเลสกามก็บังเกิดขึ้นในวัตถุเหล่านี้ ในส่วนที่เป็นคุณดังกล่าวนั้น คือในส่วนที่ให้ความสุข ก็เป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีคุณเสียเลยแล้ว กิเลสกามก็ไม่บังเกิดขึ้น (เริ่ม ๑๘๔/๑) แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสโทษของกามก็เพราะว่า เป็นสิ่งที่ให้คุณน้อยแต่ว่ามีโทษมาก จึงได้ตรัสยกโทษของกามขึ้นมาสั่งสอน เพื่อให้ละความติดใจเพลิดเพลินใจอยู่ในกาม

แม้ว่ากิเลสกามจะยกขึ้นแสดงที่เป็นวัตถุเพียง ๕ ข้อ แต่ข้อ ๖ คือธรรมารมณ์ อารมณ์คือเรื่องราวทางจิตใจโดยตรง ก็นับว่าเป็นกามด้วย คือนับเข้าในวัตถุกามนั้นด้วย เพราะว่าทั้งรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ทั้งธรรมารมณ์ ก็เป็นที่ตั้งของกิเลสกาม กิเลสกามย่อมบังเกิดขึ้นได้ในทั้ง ๖ ข้อนี้ จึงสรุปเข้าในวัตถุกามด้วยกัน แต่ว่าตรัสแสดงยกขึ้นเพียง ๕ ข้อ ที่เป็นวัตถุโดยตรง ก็ทำให้เข้าใจได้ง่าย กามตัณหา ตัณหาในกามก็คือในวัตถุกามดังที่กล่าวมานั้น ด้วยอำนาจของกิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่

ตัวตัณหานั้นเองก็เป็นกิเลสกามคือกิเลสที่เป็นเหตุใคร่ เพราะฉะนั้น คำว่ากามตัณหาจึงอธิบายว่าตัณหาในวัตถุกาม เพราะทำให้เข้าใจได้ทันที

ภวตัณหา วิภวตัณหา

ภวตัณหา ตัณหาในภพ อธิบายทั่วไปก็คือตัณหาในภพชาติที่เป็นอยู่นี้ มีความอยากดิ้นรนอยู่ในภพชาติที่เป็นอยู่นี้ ไม่อิ่ม ไม่เบื่อหน่าย และในภพชาติที่ปรารถนาต้องการต่อไป และแม้ว่าความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ ก็นับรวมเข้าในภวตัณหา ตัณหาคือภพนี้ด้วย

วิภวตัณหา ตัณหาในวิภวะหรือวิภพ คือในความไม่เป็นนั่น ในความไม่เป็นนี่ ดังเช่นความรู้สึกอยากตาย เพราะความอึดอัดเบื่อหน่ายในชีวิต หรือในชาติภพนี้ ความอยากตายสูญ คือให้สิ้นสูญไปเลย ไม่ต้องเกิดอีก และแม้ความอยากที่จะไม่เป็นนั่นเป็นนี่ เช่น อยากที่จะให้สิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจพอใจสิ้นไป หายไป หมดไป ก็นับเข้าเป็นวิภวตัณหาด้วย

ตายเกิด ตายสูญ

เมื่อแสดงมาถึงข้อนี้ก็ควรที่จะแสดงถึงมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา คือ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุทเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยงนั้น ก็คือเห็นว่าในปัจจุบันมีอัตตาตัวตน และเมื่อตายแล้วอัตตาตัวตนนี้ก็ไปเกิดต่อไป ไม่มีสิ้นสุด ดั่งนี้คือความเห็นว่าเที่ยง เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง อุทเฉททิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ ก็คือเห็นว่าในปัจจุบันนี้มีอัตตาตัวตน และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วอัตตาตัวตนนี้ก็สิ้นไปหมด ไม่มีอะไรไปเกิดอีก ฉะนั้น สัสสตทิฏฐิจึงเรียกกันง่ายๆ ว่า เห็นว่าตายเกิด คือเกิดร่ำไปไม่มีสิ้นสุด

อุทเฉททิฏฐิเห็นว่าตายสูญ คือสูญสิ้นไปไม่มีเกิดอีก ความเห็นทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา

ฉะนั้น หากจะถามว่าพระพุทธศาสนาสอนอย่างไรในเรื่องนี้ ก็ตอบได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นสอนไว้ว่า เมื่อยังมีตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อันเป็นเหตุให้ยึดถือเป็นอุปาทาน หากจะเรียกรวมกันว่าความอยากยึดก็ได้ เมื่อยังมีความอยากยึดอยู่ก็ตายเกิด เกิดเป็นอะไร ก็ตอบได้ว่าเป็นไปตามกรรม คือการงานที่กระทำ กระทำกรรมดีก็ไปเกิดดีมีสุข กระทำกรรมชั่วก็ไปเกิดชั่วมีทุกข์ เป็นไปดั่งนี้ตราบเท่าที่ยังมีตัณหาอุปาทานความอยากยึดอยู่ จึงต้องเป็นทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้น ในหมวดทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์จึ่งได้ตั้งต้นว่า ชาติ ปิทุกขา แม้ชาติคือความเกิดเป็นทุกข์ ชรา ปิทุกขา ชราความแก่เป็นทุกข์ มรณัม ปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ดั่งนี้

วัฏฏะ สังสาระ

เมื่อยังมีตัณหาอุปาทานอยู่จึงต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป ซึ่งความเวียนเกิดเวียนตายนี้ ก็เรียกว่า วัฏฏะ คือความวน สังสาระ หรือสงสารคือความท่องเที่ยวไป ท่องเที่ยวไปเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป ต่อเมื่อละตัณหาอุปาทานได้ เพราะละอวิชชาคือความไม่รู้จักสัจจะที่เป็นตัวความจริงได้ เพราะได้ตรัสรู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง อันได้แก่อริยสัจจ์ทั้ง ๔ และท่านผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้อย่างสมบูรณ์ ก็ได้แก่พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ละอวิชชาคือความไม่รู้จริงอันเป็นต้นเหตุของกิเลสทั้งหมด ละตัณหาอุปาทานได้หมด ดังที่กล่าวว่าถอนตัณหาอุปาทานได้หมด พร้อมทั้งรากเหง้าคืออวิชชา เมื่อเป็นดั่งนี้ก็เป็นผู้ไม่เกิดอีก ดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้วก็ไม่ถือภพชาติอีกต่อไป เพราะละตัณหาเสียได้ ฉะนั้น จึงได้มีแสดงลักษณะของตัณหาไว้เป็นข้อแรกว่า โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อถือภพชาติใหม่ คือเมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ถือภพชาติใหม่อยู่ร่ำไป ฉะนั้นเมื่อละตัณหาเสียได้ ก็ละ โปโนพฺภวิกา คือถือภพชาติใหม่ได้เป็นอันไม่เกิดอีก แต่เมื่อ..และเมื่อไม่เกิด ก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย จึงชื่อว่าเป็นผู้ดับทุกข์ เป็นผู้สิ้นทุกข์ได้ด้วยประการทั้งปวง

พระอรหันต์ไม่ตายสูญ

แต่ว่าข้อที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายไม่เกิดอีกนั้น ไม่เรียกว่าสูญ คือไม่เรียกว่าตายสูญ แต่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ไม่มีภาษาจะพูด เพราะว่าเมื่อถอนธรรมะมีกิเลสเป็นต้นได้หมดแล้ว ก็ถอนทางแห่งถ้อยคำที่จะพูดกันทั้งหมดเช่นเดียวกัน

แต่ว่าท่านก็ได้มีกล่าวเปรียบเทียบเอาไว้ ว่าเหมือนอย่างเปลวไฟที่ถูกลมพัดดับไป ไม่ควรจะกล่าวว่าไฟไปข้างไหน ตามอุปมานี้หากจะคิดตามไปก็คิดตามไปได้ว่า แม้ไฟที่ติดเชื้อดับ แต่ธาตุไฟก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น แม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือดับขันธนิพพานไปแล้ว ธาตุธรรมอันไม่มีสมมุติบัญญัติ ไม่มีภาษาจะพูดถึง ก็ยังดำรงอยู่เป็นธาตุเป็นธรรม อันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่

ในข้อนี้ก็ได้มีพระพุทธภาษิตแสดงถึงลักษณะของธรรมะ หรือของธาตุแท้ไว้ว่า ธาตุนั้นตั้งอยู่เป็นธรรมฐิติความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นธรรมนิยามความกำหนดได้แห่งธรรม คือข้อที่สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์คือทนได้ยาก คือทนอยู่ไม่ได้ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

ดั่งพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สัพเพ ธรรมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงคือทั้งสังขารทั้งวิสังขารเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ดั่งนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น หรือไม่ทรงอุบัติขึ้น ธาตุนั้นก็คงตั้งอยู่เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามอย่างนี้ ทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้ดั่งนี้

เพราะฉะนั้น วิภวตัณหา ตัณหาในวิภพคือความไม่เป็นนั่นเป็นนี่ จึงเป็นความอยากยึดที่ผิด ไม่ถูกต้อง เป็นทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ เช่นเดียวกับกามตัณหา และภวตัณหา

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์:
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

ขับเคลื่อนโดย Google Sites

เผยแพร่:
พร” สติ คือ ปัจจุบัน

สังขารทุกข์


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงวิธีพิจารณากำหนดรู้จักทุกข์โดยความเป็นทุกข์ มีประการต่างๆ มาแล้ว จักได้แสดงต่อไปถึงวิธีพิจารณากำหนดรู้จักทุกข์โดยเป็นสังขาร อันเรียกว่าสังขารทุกข์ ทุกข์โดยเป็นสังขาร หรือสังขารเป็นทุกข์ สังขารนั้นแปลว่าผสมปรุงแต่ง หมายถึงทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่ธาตุทั้งหลายมาผสมปรุงแต่ง หรือเหตุปัจจัยทั้งหลายมาผสมปรุงแต่ง ให้เป็นนั่น ให้เป็นนี่ ท่านแสดงจำแนกไว้กว้างๆ เป็น ๒ คือ อุปาทินนกสังขาร และ อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีผู้ครอง หรือมีอะไรครอง เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีผู้ครอง หรือไม่มีอะไรครอง เรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร

อธิบายโดยมากนั้น ชี้เอาตัวผู้ครองหรือสิ่งที่ครองว่าจิตใจ อุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารที่มีจิตใจครอง เช่น ร่างกายของมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ที่ยังดำรงชีวิตอยู่

อนุปาทินนกสังขาร นั้นคือสังขารที่ไม่มีจิตใจครอง เช่น ต้นไม้ ภูเขา ทุกๆ อย่างที่บังเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และทุกๆ อย่างที่มนุษย์สัตว์ปรุงแต่งขึ้น เช่น บ้านเรือน รวงรัง และทุกๆ อย่างเป็นอนุปาทินนกสังขาร แม้ร่างกายของมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายที่ไม่มีใจครอง เป็นศพไปแล้ว ก็เรียกว่าอนุปาทินนกสังขารเหมือนกัน

อีกอย่างหนึ่งพระอาจารย์ทางปฏิบัติบางท่านได้อธิบายว่า ผู้ครองหรือสิ่งอะไรที่ครองนี้ได้แก่ อุปาทาน คือความยึดถือ สังขารที่อุปาทานยึดถืออยู่เป็น อุปาทินนกสังขารสังขารที่ไม่มีอุปาทานยึดถืออยู่เรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร

แม้สังขารร่างกายนี้ จิตใจที่เป็นส่วนสังขารนี้ คือขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ยังมีอุปาทานคือความยึดถือ ว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา ดังที่ตรัสเรียกว่าอุปาทานขันธ์ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ปัญจุปาทานขันธ์ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ๕ ก็เป็นอุปาทินนกสังขาร ขันธ์ ๕ นี้เอง ของพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอุปาทานยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา แม้ยังดำรงชีวิตอยู่ ก็เรียกว่าอนุปาทินนกสังขาร

แม้ว่าสิ่งที่ไม่มีใจครอง เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เจ้าของยังมีอุปาทานคือยึดถืออยู่ว่าเป็นของเรา ก็เรียกว่าอุปาทินนกะสังขาร แต่สำหรับพระอรหันต์ ไม่มีอุปาทานยึดถืออะไรๆ ในโลก แม้แต่ปัจจัยบริขารของท่านเอง เช่น บาตร จีวร เป็นต้น ก็ไม่ยึดถือด้วยอุปาทานว่าของเรา ก็เรียกว่าอนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีอุปาทานครอง

แต่ว่าจะอธิบายอย่างไรก็ตาม ทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งหลาย ที่เป็นภายในก็ได้แก่ขันธ์ ๕ ของตนเอง

ที่เป็นภายนอกก็ได้แก่ทรัพย์สมบัติ กับทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่าง ที่เป็นวัตถุก็ตาม ที่ไม่เป็นวัตถุก็ตาม ก็เรียกว่าสังขารทั้งนั้น ที่เป็นวัตถุนั้นก็ได้แก่เป็นสิ่งต่างๆ ที่ เห็นได้ ได้ยินได้ ทราบกลิ่นได้ ทราบรสได้ ถูกต้องได้ เป็นต้นว่า ร่างกายของมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย บ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา จะมีใจครอง หรือไม่มีใจครองก็ตาม ก็เป็นวัตถุทั้งหมด

สังขารในขันธ์ ๕

ส่วนที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคืออาการของใจที่เป็นภายใน ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสังขารในขันธ์ ๕ ดังกล่าวมานี้ ก็ได้แก่ความคิดปรุงหรือความปรุงคิด ซึ่งเป็นความปรุงแต่งเหมือนกัน คือว่า เมื่อเห็นอะไร ได้ยินอะไร ซึ่งเป็นวิญญาณ เป็นสัมผัสถึงใจ ก็เกิดเวทนาเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ในสิ่งนั้นๆ แล้วก็เกิดสัญญาคือจำได้หมายรู้

สังขารในขันธ์ ๕ ก็นำเอาสิ่งที่จำได้นี่เอง มาคิดปรุงหรือปรุงคิดไปต่างๆ คิดดีก็เป็นกุศล คิดไม่ดีก็เป็นอกุศล คิดเป็นกลางๆ ก็เป็นอัพยากฤตคือเป็นกลางๆ ดั่งนี้จึงเรียกว่าสังขาร ไม่ใช่เป็นวัตถุ แต่เป็นนามธรรม ส่วนที่เป็นวัตถุนั้นเรียกว่าเป็นรูปธรรม

และแม้ วิญญาณ เวทนา สัญญา ในขันธ์ ๕ นั้น ก็เป็นสังขารเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง ดังเช่น วิญญาณ ที่หมายถึงว่ารู้คือเห็นหรือได้ยินเป็นต้น ก็เกิดมาจากอายตนะภายใน อายตนะภายนอกประจวบกัน เช่น ตากับรูปมาประจวบกันจึงเห็น เสียงกับหูมาประจวบกันจึงได้ยิน แต่อันที่จริงนั้น เมื่ออธิบายอย่างละเอียดแล้ว ไม่ใช่ตากับรูป หูกับเสียง อย่างเดียว ต้องมีมโนคือใจเข้าประกอบด้วย คือตากับรูป และมโนคือใจมาประจวบกัน จึงเห็น หูกับเสียง และมโนคือใจมาประจวบกัน จึงได้ยิน

จมูกกับกลิ่น และมโนคือใจมาประจวบกัน จึงได้ทราบกลิ่น ลิ้นกับรส กับมโนคือใจมาประจวบกัน จึงได้ทราบรส กายและโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง และมโนคือใจมาประจวบกัน จึงได้ทราบถึงสิ่งถูกต้องทางกาย การเห็นรูปก็ดี การได้ยินเสียงก็ดี การได้ทราบกลิ่น ทราบรส ทราบโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้องก็ดี เรียกว่าวิญญาณ ดั่งที่เราพูดว่า ได้เห็น ได้ยิน และได้ทราบต่างๆ ดังกล่าว

เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง ถ้าหากว่าไม่มีการผสมปรุงแต่งดังกล่าว เช่นตากับรูปและมโนคือใจไม่มารวมกัน จักขุวิญญาณ ความรู้รูปทางตา คือการเห็นรูปก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง และเมื่อเป็นวิญญาณที่สัมผัสเข้าถึงจิตใจ จึงได้เกิดเวทนา คือความรู้เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์

เพราะฉะนั้น แม้เวทนาก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง และเมื่อเป็นเวทนาขึ้นแล้ว เวทนากับรูปเสียงเป็นต้น ก็มาผสมปรุงแต่งขึ้นในความคิดของคน คือคนก็คิดปรุงขึ้นมา หรือปรุงคิดขึ้นมา อาศัยเวทนา อาศัยตา อาศัยรูป อาศัยวิญญาณ ที่ผ่านมานั้น สัญญาก็จำได้ สัญญาความจำนั้นก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง คือว่า จำสุข จำทุกข์ จำกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ในรูปที่ตาเห็น ในเสียงที่หูได้ยิน เป็นต้น

เพราะฉะนั้น สัญญาความจำก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง และเมื่อมาคิดปรุงหรือปรุงคิดไปตามสัญญาที่จำได้หมายรู้นั้น ก็เป็นสังขารในขันธ์ ๕ เรียกว่าสังขารตรงตัว คือเป็นความคิดปรุง หรือเป็นความปรุงแต่ง (เริ่ม ๑๘๑/๑) เพราะฉะนั้น จึงเป็นสังขารทั้งหมด ที่เป็นสังขารส่วนที่เป็นนามธรรม หรือไม่ใช่เป็นวัตถุ ไม่ใช่เป็นรูป เหล่านี้เป็นสังขารทั้งนั้น คือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง

สังขตลักษณะ

และสังขารนี้ได้ตรัสแสดงเอาไว้ว่าประกอบด้วย สังขตลักษณะ ลักษณะคือเครื่องกำหนดหมายแห่งสิ่งผสมปรุงแต่งคือสังขารทั้งหลาย ว่ามี ๓ ประการ ที่แปลความว่า ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมสิ้นไปปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นปรากฏ ๑ สังขารย่อมมีลักษณะ ๓ ประการดั่งนี้ เพราะฉะนั้น สังขารนี้จึงเป็นตัวทุกข์โดยตรง เป็นที่ตั้งของทุกข์ทั้งหลาย ที่แสดงไว้เป็นข้อๆ ไป ถ้าไม่มีสังขาร ทุกข์ทั้งหลายที่แสดงเป็นข้อๆ ไปก็มีไม่ได้ แต่เมื่อมีสังขาร ทุกข์ที่แสดงไว้เป็นข้อๆ ไปก็มีได้ เพราะฉะนั้นตัวทุกข์จึงอยู่ที่สังขาร

ได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ในที่อื่นอีกว่า แปลความว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเป็นสุข ดั่งนี้ และได้มีภิกษุณีภาษิตที่แสดงว่านางวชิราภิกษุณีกล่าวไว้ว่า ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดั่งนี้ เพราะฉะนั้น จึงแสดงว่าสังขารเป็นตัวทุกข์ เพราะว่าสังขารเกิดก็ชื่อว่าทุกข์เกิด สังขารดับก็ชื่อว่าทุกข์ดับ สังขารตั้งอยู่ก็ชื่อว่าทุกข์ตั้งอยู่ ดั่งนี้ คือ สังขารทุกข์ ทุกข์โดยเป็นสังขาร หรือสังขารเป็นทุกข์

วิปรินามทุกข์

อนึ่ง อาการที่สังขารต้องเกิดต้องดับ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวนั้น ก็แสดงว่า ความสำคัญของทุกข์อยู่ที่ตัวความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง

เพราะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงจึงต้องเป็นทุกข์ เข้าในลักษณะของทุกข์ประการที่ ๓ ว่า วิปรินามทุกข์ ทุกข์คือความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง หรือว่าทุกข์โดยเป็นความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงเป็นตัวทุกข์ ในข้อนี้ก็ตรงกับคำว่าทุกข์ ซึ่งแปลตามศัพท์ว่าทนอยู่ได้ยาก อันหมายความว่าทนอยู่ไม่ได้ เพราะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป จึงชื่อว่าเป็นทุกข์ทั้งหมด

ทุกข์คือเกิดดับ

แม้เป็นสุขเวทนาคือความที่เสวยอารมณ์เป็นสุข คือรู้สึกว่าเป็นสุขทางกายทางใจ เป็นสุขเวทนาทางกายทางใจ สุขนั้นตามศัพท์ว่าทนง่าย ทนสบาย คือมีความสุขสบายกายสบายใจ แต่แม้สุขเองที่เป็นสุขเวทนาก็ต้องเป็นทุกข์คือทนอยู่ไม่ได้เหมือนกัน ต้องดับคือต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป

และแม้ตัวทุกข์เองที่เป็นทุกข์เวทนา คือความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ทางกายทางใจ เป็นความไม่สบายกายไม่สบายใจ ก็ทนอยู่ไม่ได้เหมือนกัน ต้องดับเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เวทนาทั้งสุขทั้งทุกข์นี้จึงเป็นสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวสุข ดังที่ทุกๆ คนประสบกันอยู่ เพราะฉะนั้น จึงรวมเข้าในคำว่า ทุกขสัจจะ สัจจะคือทุกข์นี้ทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้

ฉะนั้น นางวชิราภิกษุณีจึงได้กล่าวว่า ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดั่งนี้ คือเป็นทุกข์ไปทั้งหมด อันหมายถึงทุกข์คือสังขารดั่งที่กล่าวแล้ว และแม้สุขทุกขเวทนาเองก็เป็นสังขารดังกล่าว จึงตกอยู่เข้าในลักษณะนี้ทั้งหมด

ทุกขสัจจะ

แต่ข้อนี้นั้นเป็นสัจจะคือความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ต้องมาพิจารณาจึงจะมีความเข้าใจ เพราะ ทุกขสัจจะ นี้เป็นทุกข์อย่างละเอียดที่มีอยู่ตามความเป็นจริง ส่วนสุขทุกข์ธรรมดา ที่ทุกคนประสบกันอยู่นั้นเป็นสุขทุกขเวทนา เป็นอารมณ์ของใจที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สุดแต่ความประจวบทางอายตนะ คือตาประจวบกับรูป หูประจวบกับเสียง ดั่งที่กล่าวมาแล้ว จึงเกิดเป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา หรือเป็นอุเบกขาเวทนา และทั้งหมดนี้ก็ตกอยู่ใน ทุกขอริยสัจจ์ ทั้งหมด คือเป็นสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป

ฉะนั้น การแสดงทุกขสัจจะดังที่กล่าวมานี้ ที่แสดงจัดเข้าในทุกข์ ๓ ข้อ คือ ทุกขทุกข์ ทุกข์คือทุกข์ หรือทุกข์โดยเป็นทุกข์ สังขารทุกข์ ทุกข์คือสังขาร หรือว่าทุกข์โดยเป็นสังขาร กับ วิปรินามทุกข์ ทุกข์คือความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง โดยความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง จึงเป็นสัจจะที่ลุ่มลึก เมื่อพิจารณาไป พิจารณาไปจึงจะมองเห็น และจะเห็นว่าไม่ขัดกันกับสุขทุกข์ที่เป็นเวทนา ซึ่งอยู่ในอารมณ์ของใจ ซึ่งทุกคนประจวบอยู่ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องทุกข์ พบกับทุกข์ สุขเวทนาบ้าง ต้องพบกับทุกข์เวทนาบ้าง เป็นธรรมดา แต่เวทนาดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่แสดงความไม่เที่ยง แสดงความเกิดดับให้ทุกคนเห็นอยู่ ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวสุข คือสุขเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็เกิดทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นก็ดับไป แล้วก็เกิดสุข ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ดั่งนี้

เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้จึงตกเข้าในทุกขสัจจะนี้ทั้งหมด และเมื่อหัดพิจารณา ให้มองเห็นสัจจะคือความจริงข้อนี้ ก็จะทำให้จิตใจสบาย พ้นจากทุกข์ได้

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต
ข้อความสมบูรณ์:
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

เผยแพร่:
สติ คือ ปัจจุบัน

บทความจากใจ phonchai


เมื่อเราเกิดมา ได้พบแต่ความผิดหวัง ความผิดหวัง จะทำให้เราเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย จะทำให้เรามืดมิด ความมืดมิตร จะทำให้เราคิดค้นหาแสงสว่าง และ จะตั้งคำถามกับตัวเอง.ว่า ชีวิตนี้เกิดมาทำไม ทำไมต้อง เเบบนี้ คำสอนพระพุทธเจ้า คำสอนพระศาสนา คือ คำตอบ ทุกคำที่เรามีคำถาม.

นี่คือความรู้สึก ในช่วงที่ข้าพเจ้า ได้รับเวทนา อย่างหนักตอน อายุ 20 ปี. และไม่เคย ได้รู้ซึ้งถึงพระพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า.และไม่เคยรู้ จักพระองค์มาก่อน.ไม่เคยรู้จักธรรมะมาก่อน. ในช่วงเวลา ที่ข้าพเจ้า สับสนกับชีวิต ธรรมะพระพุทธเจ้า ก็ค่อยๆ ไหลเข้ามาทุกทิศ ทุกทาง. จำได้ หนังสือ เล่มแรก ที่เข้า คือ หนังสือ พุทธธรรม”

ปกติ ตอนเด็ก ข้าพเจ้าสัมผัส และพูดกับสัตว์ได้ เฉพาะสัตว์ที่ข้าพเจ้าเลี้ยง.เท่านั้น.

เมื่อเวลาที่ ข้าพเจ้าทำผิด จะได้รับความช่วยเหลือ จากอีก จิต หนึ่งดวง.แม้แต่ความคิด เขารู้ทุกอย่าง เมื่อข้าพเจ้ากลัว จะมีเสียงข้าง ๆ ให้กำลังใจเสมอ. เขาจะชอบพูดว่า.ไม่ต้องกลัว เราคือเจ้า. เพราะความเป็นเด็ก และไม่รู้ธรรมะ เลยไม่เคยสนใจ.จิตดวงนั้น ที่เขาไม่ให้มอง และต้องหลับตาทุกครั้ง ที่พูดคุยกับเขา และเขาก็บอกทุกครั้งห้ามบอกใึคร. ที่พูดวันนี้ เพราะไม่เคย สัมผัสกับเขาอีกเลย. ส่วนมากตอนเด็ก เวลาเสียใจ จะชอบนั่งหลับตาเองอัตโนมัติ.และเสียง จะปรากฏทุกครั้ง และ พูดให้กำลังใจทุกครั้ง.

บทความจากผม “พร” (สติ คือ ปัจจุบัน)

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=745757672843863&id=100022289110429

ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5 เมื่อผิดศีล 5 จะมีผลกรรมอย่างไรบ้าง


ผิดศีลข้อ 1
                 (ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ กักขังทรมานสัตว์)
ผลกรรมคือ
1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ ซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

                                      ผิดศีลข้อที่ 2
                    (ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์)

ผลกรรมคือ
1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2.มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3.ทรัพย์หายบ่อย ๆ หลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4.มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อย ๆ ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5.ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อย ๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟวัดเ พื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย ส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์อย่างสุจริตรวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพ ไม่ฉ้อโกงใคร แม้แต่สลึงเดียวและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

                                        ผิดศีลข้อ 3
(ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น กีดกันความรักคนอื่น นอกใจคู่ครอง หลอกลวง ข่มขืน   ค้าประเวณี ล่วงเกินทางเพศต่าง ๆ)
ผลกรรมคือ
1.หาคู่ครองไม่ได้,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์, โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2.เป็นหม้าย, ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง, คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3.คนรักนอกใจ, คนรักมีชู้, มีเมียน้อย, คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้, โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี, โดนข่มขืน
4.ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก, พ่อแม่ทอดทิ้ง, ชีวิตขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย, ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศ, ทางร่างกาย, ทางจิตใจ, ถูกกีดกันทางความรัก, สังคมไม่ยอมรับความรักของตน, มีความรักหลบ ๆ ซ่อน ๆ
6.ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ (ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิดทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จักเอาใจใส่คู่ครอง คนรักเอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญ ทำให้ความรักของเราสดใสไม่เจ็บช้ำหากทรมานพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอ ๆ กับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้

                                            ผิดศีลข้อ 4
(โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่นใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญาสาบานแล้วไม่ทำตาม)

ผลกรรมคือ
1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียดนินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่า ไม่เถี ยง ไม่นินทาผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้คำสั ญญาใครไว้ต้องรักษา อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่าง ๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อย ๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะพูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูด ไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น

                                         ผิดศีลข้อ 5
(ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด)

ผลกรรมคือ
1.สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2.เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3.หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4.ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6.มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่ายจ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทาน วิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไปและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง***************************แหล่งที่มา:หนังสือบูรณาการแผนใหม่ ธรรมศึกษา ชั้นตรี. คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์,2546.หนังสือบูรณาการแผนใหม่ ธรรมศึกษา ชั้นโท. คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์,2546.หนังสือบูรณาการแผนใหม่ ธรรมศึกษา ชั้นเอก. คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์,2546

ศีล 5 หรือ เบญจศีล


ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)

เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์ หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว

อทินฺนาทานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)

เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ รวมถึงการเบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาเปรียบคนอื่นด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว

กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)

เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้อนี้เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว

มุสาวาทา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)

เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด รวมถึงการพูดให้คนแตกสามัคคีกันด้วย

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)

เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท…

เบญจศีล

ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น จำเป็นที่แต่ละคน ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องทำตนให้เป็นคนเต็มคน ที่เรียกว่าเป็นมนุษย์ หรือเป็นคน 100% เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุข เกิดศานติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะทำคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมีความสงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่

เบญจศีล แปลว่า ศีล ๕ ได้แก่..

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ

(๑) ภรรยาคนอื่น

(๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)

(๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์

บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ

(๑) สามีคนอื่น

(๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)

ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า “เข้าตามตรอกออกตามประตู”

๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง

แหล่งอ้างอิง

http://www.sil5.net/index.asp?autherid=14&ContentID=10000024&title=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False

อนัตตา จิต


ทุกอิริยาบถ นั้นเป็น บททดสอบ แห่ง ไตรลักษณ์ เมื่อใด ที่เราทั้งหลาย ผ่านบท ทดสอบ แห่ง ผัสสะแห่งผลกระทบใน เหตุ นั้น ๆ ธรรมชาติ จะ ปลดปล่อยเรา เป็น อิสระ ได้รับข้อยก เว้น แห่งกฏธรรมชาติ จึงจะนอกเหนือ กฏไตรลักษณ์. สัจธรรม เป็นอยู่อย่าง นั้น. เรียกว่า พ้น ผ่านพ้น วัฏฏะสงสาร ไปได้. คือ พ้น กรรม แห่ง ไตรลักษณ์. ในสังสารวัฏนี้ .ด้วยการ ละวาง อัตตา ตัวตน. ละวาง ผัสสะ แห่ง สัมผัส.ทั้งปวง ที่กระทบ จิต.นั่นเอง.

วางกาย วางจิตลงได้ ก็ อิสระจากตัวมันเอง.ขันธ์๕ คือ จิตมายา ที่รู้ กาย กาย คือ ธาตุ๔ ระหว่าง ขันธ์ ๕ และ ธาตุ๔ จึงซับซ้อน สำหรับบุคคล ผู้ไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจ ธรรมะ จึงเป็น อุปสรรค ในการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติตน. ระหว่างขันธ์ ธาตุแห่ง ขันธ์ จึงแยกกันไม่ได้ หากจะแยกก็คือ ได้ ได้ ด้วย สติ แห่งตน จึงจะแยกธาตุ แยกขันธ์ได้ จึงจะ นอกเหนือ สติ ไปได้.จึงจะละวาง แห่ง เหตุได้ จึงจะรู้ทันจิต แห่ง ขันธ์ได้ เรียกว่า ปัญญา รู้ แจ้ง แจ้ง อัตตา ตัวตน.เมื่อไม่รับเอา สิ่งใดแล้ว มันก็ พ้น ผ่านพ้น อัตตา ตัวใจ สู่จิตเดิมแท้ แห่ง มหานิพพาน เท่านี้ ที่คน เขา ไม่ เอา นิพพานกัน เพราะยัง หลงตัวกู ของกู นั่นนะสิ.

สติ คือ ปัจจุบัน : (สุริยะ มหสติ)

พระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน


๔๖. ปัญหา คนธรรมดาตายแล้วย่อมเกิดในภพต่างๆ ตามกรรม ส่วนพระอรหันต์ผู้สิ้นกรรมแล้ว ไปเกิดที่ไหน?

พุทธดำรัสตอบ “….ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย…. คำว่า ไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร…. คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ก็ไม่ควร…. คำว่าเกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร
“…..ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเป็นยากที่จะรู้ สงบระงับประณีตไม่ใช่ธรรมที่จะหลั่งถึงได้ด้วยความตรึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยากดูก่อนวัจฉะ…… เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้….. ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่าไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
วัจฉะ “ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
พุทธะ “…… ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
วัจฉะ “……ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่”
พุทธะ “……ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้จะดับไปต่อหน้าเราแล้ว?”
วัจฉะ “ …… ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว…..”
พุทธะ “……ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านแล้วนั้นไปยังทิศไหนจากทิศนี้…. ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?”
วัจฉะ “…… ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่า ไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”
พุทธะ “……ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะรูปใด…… เพราะเวทนาใด……. เพราะสัญญาใด…….. เพราะสังขารใด เพราะวิญญาณใด รูป…… เวทนา…… สัญญา…..สังขาร….. วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เห็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความมี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป……. เวทนา…… สัญญา…. สังขาร…… วิญญาณ มีคุณอันลึกอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มีไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้”

อัคคิวัจฉโคตตสูตร ม. ม. (๒๔๘-๒๕๑)
ตบ. ๑๓ : ๒๔๕-๒๔๘ ตท.๑๓ : ๒๐๙-๒๑๑
ตอ. MLS. II : ๑๖๕-๑๖๖

พรหมโลก


พรหมโลก คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ซึ่งอยู่สูงกว่า ปรนิมมิตวสวัตดีเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๖ ขึ้นไป ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ในพรหมโลกก็มีการเวียนว่ายตายเกิดเช่นกัน แต่เป็นการเวียนว่ายตายเกิดแบบ อุปริมวัฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ภูมิชั้นสูงที่มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายและ วิเศษเป็นเลิศ มีทั้งหมด ๒๐ ภูมิ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท

๑. รูปภูมิ คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ที่มีรูปร่างปรากฎ แต่เป็นรูปทิพย์มี ๑๖ ภูมิ ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับชั้นพรหม ชื่อพรหม บรรลุฌานก่อนจุติ อายุพรหม
พรหมโลกชั้นที่ ๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นสามัญ) ๒๑ อันตรกัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นกลาง) ๓๒ อันตรกัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๓ มหาพรหมาภูมิ ปฐมฌาน (ชั้นสูง) ๑ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๔ ปริตตาภาภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นสามัญ) ๒ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๕ อัปปมาณาภาภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นกลาง) ๔ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๖ อาภัสราภูมิ ทุติยฌาน (ชั้นสูง) ๘ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๗ ปริตตสุภาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นสามัญ) ๑๖ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๘ อัปปมาณสุภาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นกลาง) ๓๒ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๙ สุภกิณหาภูมิ ตติยฌาน (ชั้นสูง) ๖๔ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลาภูมิ จตุตถฌาน ๔๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ จตุตถฌาน ๕๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ อวิหาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๑,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ อตัปปาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๒,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๔,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๘,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ จตุตถฌาน ๑๖,๐๐๐ มหากัลป์

๒. อรูปฌาน คือ ที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ที่ไม่มีรูปร่างปรากฎ แต่เป็นจิตมี ๔ ภูมิ ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับชั้นพรหม ชื่อพรหม บรรลุฌานก่อนจุติ อายุพรหม
พรหมโลกชั้นที่ ๑๗ อากาสานัญจายตนภูมิ จตุตถฌาน ๒๐,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๘ วิญญาณัญจายตนภูมิ จตุตถฌาน ๔๐,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๑๙ อากิญจัญญายตนภูมิ จตุตถฌาน ๖๐,๐๐๐ มหากัลป์
พรหมโลกชั้นที่ ๒๐ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ จตุตถฌาน ๘๔,๐๐๐ มหากัลป์

ที่มา http://www.prapayneethai.com/th/belief/center/view.asp?id=080

พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ

พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม

รูปพรหม หรือ รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่พระพรหมผู้วิเศษมีรูป หากแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น ประกอบด้วยวิมาน 16 ชั้น

ชั้นที่ 1 – ชั้นที่ 3 รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ด้วยพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยปฐมฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ชั้นที่ 4 – ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยทุติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ชั้นที่ 7 – ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยตติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยจตุตถฌาน ชั้นที่ 10-11 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะห่างไกลกันมาก
หากแต่เฉพาะเหล่าพระพรหมในชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ อันเป็นชั้นที่เหล่าพระพรหมในชั้นนี้ ต้องเป็นพระพรหมอริยบุคคลในพุทธศาสนา ระดับอนาคามีอริยบุคคล เท่านั้น ต่างจาก 11 ชั้นแรก แม้พระพรหมทั้งหลายจะได้สำเร็จฌานวิเศษเพียงใด ก็อุบัติในสุทธาวาสภูมิไม่ได้อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ 5 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิไม่ตั้งในระดับเดียวกันเช่นชั้นแรกๆที่ผ่านมา

ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นบริวารแห่งท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรก เป็นพรหมชั้นล่างสุด ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึง 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ คือไกลจากมนุษยโลกจนไม่สามารถนับได้ ซึ่งหากเอาก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาทเหล็ก (โลหปราสาท) ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ ยังใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะตกถึงแผ่นดิน พระพรหมในที่นี้มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย มีอายุแห่งพรหมประมาณส่วนที่ 3 แห่งมหากัป (1 ใน 3 แห่งมหากัป)

ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นปุโรหิต (อาจารย์ใหญ่) ของท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า พรหมทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณครึ่งมหากัป

ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ พรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1 มหากัป

ทุติยฌาณภูมิ3 (ฉบับกรุงศรี)
ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2 มหากัป

ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีรุ่งเรืองหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4 มหากัป

ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีเป็นประกายรุ่งเรือง พรหมโลกชั้นที่ 6 อาภัสสราภูมิ เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8 มหากัป

“…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข เธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา เถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น อาภัสสรา ฯ…” (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๖ ข้อที่ ๗๒๖)

ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16 มหากัป

ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้รัศมีสง่างามหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 32 มหากัป

ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามสุกปลั่งทั่วสรรพางค์กาย พรหมโลกชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนาได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 64 มหากัป

“….ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่า หนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔….” (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๔๘๐)

ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

อนึ่งผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 9 ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่า มีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้

เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น พรหมภูมิ 3 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำนั้น พรหมภูมิ 6 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลมนั้น พรหมภูมิทั้ง 9 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปไม่มีเหลือเลย

ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

อวิหาสุทธาวาส อตัปปาสุทธาวาส
สุทธาวาส แก้ไข
ชั้นนี้เป็นที่เกิดของพระอนาคามี

ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ ( *ผู้ได้สมาบัติที่ 9 ไม่ใช่ตติยมรรค ) แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติแห่งตน สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลที่ไม่ละทิ้งสมบัติ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดานน้อยมาก ด้วยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลจะสถิตย์อยู่จนอายุครบกำหนด ไม่จุติเสียก่อน ต่างจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก 4 ภูมิ คือพระพรหมในอีก 4 สุทธาวาสภูมิที่เหลือ ซึ่งอาจมีการจุติหรือนิพพานเสียก่อนอายุครบกำหนด มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1000 มหากัป

ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้ละซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ฉะนั้นจิตใจของท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็นได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2000 มหากัป

สุทัสสาสุทธาวาส สุทัสสีสุทธาวาส
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้ง สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความแจ่มใส สามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4000 มหากัป

ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้งยิ่ง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า มีประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง 3 นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8000 มหากัป

ทุสสะเจดีย์ ชั้นอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ แก้ไข
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษไม่มีใครเป็นรอง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนาโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดในอกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้งสุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16000 มหากัป

พรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนา องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช โดยพระพรหมทั้งหลายได้นำบริขารและไตรจีวรลงมาถวาย และพระองค์ได้ถอดผ้าขาวที่ทรงอยู่ยื่นให้ พระพรหมจึงรับเอาและนำมาบรรจุไว้ยังเจดีย์ที่นฤมิตขึ้นนี้ และเป็นที่สักการบูชาของพระพรหมทั้งหลายในปัจจุบัน

พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง 4 หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และละสังขารเข้าสู่นิพพาน พอสิ้นพรหมายุขัย ก็ต้องจุติจากสุทธาวาสพรหมภูมิที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติในชั้นที่ 16 นี้ เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานโดยทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมินี้ เป็นพรหมภูมิที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อย่างประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหมด

อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป

อรูปภูมิมี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงธน)
ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ แก้ไข
ชั้นที่ทรงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอา อากาศ เป็นอารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 20000 มหากัป

ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ แก้ไข
ชั้นที่ทรงภาวะวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึด วิญญาณ เป็นอารมณ์ พ้นจากอากาสานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต มีอายุแห่งพรหมประมาณ 40000 มหากัป

ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ แก้ไข
ชั้นที่ทรงภาวะไม่มีอะไรเลย ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอาความไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิตพ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 60000 มหากัป

ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ แก้ไข
ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ในทัศนะนี้แปลว่า ยังไม่หมด ยังมีอยู่ แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นเหมือนปถุชนทั่วไป) เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป

ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้นไม่มีรูปขันธ์ 1 มีเพียงนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จึงไม่มีอวัยวะร่างกายใดๆ แต่มีความรู้สึกนึกคิดในฝ่ายนามธรรม (มีผู้บรรยายว่า สภาวะของอรูปภพ มีทั้งข้อดีกับข้อเสีย ข้อดีก็คือจะไม่มีอายตนะห้าประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายมากระทบหรือไม่รับรู้อะไร มีแต่จิตเจตสิกที่รับอากาศเป็นอารมณ์รับรู้ ไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่แต่อาศัยปลีกวิเวก และอยู่เสวยสุขได้นานหลายกัปจนนับประมาณไม่ได้ แต่ข้อเสียก็คือจะไม่สามารถสื่อสารกับใครหรือพบเห็นอะไรเลย นอกจากนั้นจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลยตอนที่ยังเป็นอรูปพรหมเพราะไม่มีอายตนะห้าประการเป็นตัวรับรู้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (แต่มีปรากฏในหลักฐานปริยัติว่า ผู้ที่ได้ถึงพระนิพพานในลำดับแรก คือ โสดาปัตติผล สามารถเจริญวิปัสสนาต่อในอรูปภพต่อจนถึงความเป็นพระอรหันตผลได้)) นอกจากนั้นเมื่อได้สิ้นกาลอายุขัยก็จะต้องลงไปเกิดในกามาวจรภูมิ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้นอีกครั้งด้วยอำนาจกิเลส ในอรูปภพนี้ไม่มีปรากฏในหลักฐานทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดจะเสด็จขึ้นมาโปรดเหล่าอรูปพรหมที่อรูปาวจรภูมินี้เลย เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติว่า อสิตดาบสได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะกุมารว่าเมื่อเจริญวัยก็จะเสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดีใจ แต่ก็คิดได้ว่าตัวเองชราภาพมากก็คงไม่ได้มีโอกาสได้อยู่ดูและฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้จะละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพหรมก็ไม่สามารถฟังธรรมได้เลยจึงร้องไห้ หรือหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตัดสินพระทัยว่าจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ก็ทรงระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบสผู้เคยเป็นพระอาจารย์สอนวิชาสมาบัติแก่พระพุทธองค์ ที่สามารถจะเข้าใจฟังธรรมได้แต่ก็น่าเสียดาย เพราะดาบสทั้งสองก็ได้ละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพรหม พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถไปโปรดดาบสทั้งสองได้เลย

อ้างอิง แก้ไข
นิตย์ จารุศร (รวบรวม และ เรียบเรียง). สารธรรม. กรุงเทพฯ : เหรียญบุญ การพิมพ์, 2547.
พระพานิช ญาณชีโว. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ) . กรุงเทพฯ : ตรงหัว, 2539.
เสฐียรโกเศศ. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545.
เสฐียรโกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ. ธนบุรี : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม, 2512.

จิตเดิมแท้


ทุกคนมี จิตเดิมแท้ ที่ไม่เคยหาเจอ.เพราะไร้ซึ่ง ผู้นำทาง ผู้ชี้ทาง.แสงสว่างนั้น จึงถูกปรกคลุมมืดมิดสนิท ดั่ง กุญแจ ที่ถูกร็อคตาย หาลูกกุญแจ ไม่เจอ.ของสำคัญที่ถูกเก็บไว้อย่างดี.เมื่อเราเกิดมาลืมตาบนโลก”เราก็ได้พบแต่ มายา ที่สืบทอดกันมา ด้วยแรงบุญ แรงกรรม.แห่ง ผลของตน.จึง มืดบอด มองไม่เห็นความจริงแท้ของชีวิต ว่า.เราเกิดมาทำไม.ทำไม ต้องเกิด ทำไมต้องตาย.ผู้เปิดตาให้ โลก อยู่ ทุก สารทิศซึ่ง.มีอยู่ ในศาสนา.และพระธรรมคำสอนของศาสนา คือ คำตอบ แห่ง ชีวิต.ของทุกคน.จิตเดิมแท้นั้น” เป็นสิ่งคงที่ ที่ ไม่มีวันสูญสิ้น หรือ เรียก จิตนี่ ว่า พระนิพพาน หรือ จิต พุทธะนั่นเอง.

เมื่อใด ที่เราตระหนัก”รู้”ทุกข์ .และ เมื่อใดเรา รู้ถึง.ซึ่งเหตุ แห่ง ทุกข์”และเมื่อใด เรา พบ พระธรรม คำ สอน พระพุทธเจ้า”,เราจะรู้”ถึงซึ่ง การณ์ดับ เหตุ แห่ง.ทุกข์”เมื่อเรารู้ ทุกข์”เรา”จะมี สติ ระลึกรู้ พระธรรมคำสอน.ของพระองค์. คือ ไม่ให้ หลงในทุกข์.ทุกข์ เกิดจากเหตุ” เมื่อเรา ได้รับ ถึงความรู้สึก”ในเหตุ แห่งความไม่ พอใจ เสียใจ ไม่อยากรับจำ ในความทรงจำ.ในจิตที่นึกคิดปรุงแต่ง..เมื่อใดที่เรา ละวาง ยอมรับความเป็นไป”แห่ง ขันธ์” แห่งไตรลักษณ์ ตามเป็นจริง.ไม่  ซ้อนในจิต ไม่ติดหลงใจ.ใน.เหตุ.เมื่อนั้น.เราจะเป็น อิสระทางจิตใจ”พ้น เหตุ ยึดติด.แห่ง จิตสังขาร ตัวใจ.

สุริยะ มหาสติ”