พระกฤษณะเป็น อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์
ุ
พระกฤษณะเป็น อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ในคัมภีร์ปุราณะ มหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ และตำนานเก่าต่างๆ ของอินเดีย รวมถึงคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูอื่นๆ ได้บันทึกและกล่าวถึงไว้ว่า พระวิษณุเทพได้อวตารลงมาเพื่อปราบยุคเข็ญให้แก่เหล่ามวลมนุษย์ทั่วไป ในช่วงเหตุการณ์โลกเกิดกลียุคและเกิดความไม่สงบสุขจากเหล่าอสูร จึงทรงอวตาลลงมาในปางต่างๆ ซึ่งปางพระกฤษณะเทพ คือปางที่ 8 ในการอวตาร10 ปาง ของพระวิษณุเทพ นั่นเอง ลัทธิไวษณพนิกาย กล่าวไว้ว่าพระกฤษณะเกิดมาเพื่อทำลายอสูร ชื่อกังสะ ซึ่งเป็นลุงของพระกฤษณะเอง อสูรกังสะตนนี้ปลอมตัวมาเป็นกษัตริย์นามว่า อุคราเสน แห่งเมืองมถุรา และได้ใช้อำนาจแย่งชิงมเหสีจากกษัตริย์ (องค์จริง) มาโดยมิชอบ และมเหสีก็ทรงไม่ทราบว่าเป็นอสูรที่แปลงกายมาเป็นสวามีของตนอสูรกังสะ เมื่อขึ้นครองเมืองก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป ต่อมาเมื่อพระวิษณุเทพทรงทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน จึงทรงอวตารมาในปางพระกฤษณะเพื่อปราบอสูรกังสะตนนี้
พระกฤษณะนั้นเป็นบุตรของ พระวสุเทพ(โอรสท้าวศูรราช)และนางเทวกี (บุตรีท้าวอุคระเสน) ในนครมถุรา เมื่อหมดสมัยของท้าวศูรราชท้าวอุคระเสนก็ปกครองเมืองมถุราต่อ แต่พญากงส์ บุตรของท้าวอุคระเสน ได้เป็นกบฏ ถอดท้าวอุคระเสนแล้วขึ้นปกครองเสียเอง ครั้งเมื่อนางเทวกีตั้งครรภ์มีโหรทำนายว่า ทารกในครรภ์นั้น จะเป็นผู้วิเศษมาเกิด พญากงส์จึงจับนางเทวกีและพระวสุเทพขังเอาไว้ เมื่อครบกำหนดคลอดก็ให้ฆ่าทารกเสีย ทำเช่นนี้อยู่ 6 ครั้ง จนถึงครั้งที่8 เทวดาได้ย้าย ทารกไปไว้ในครรภ์ นางโหริณีมเหสีฝ่ายซ้ายของพระวสุเทพ ทารกนี้มีนามว่า พระ กฤษณะ มีกายสีดำ มีลักษณะของมหาบุรุษเพียบพร้อม พระวสุเทพจึงนำกุมารนี้ไปฝากโคบาล( ผู้เลี้ยงวัว ทำปศุสัตว์ )ชื่อนันทะ และนางยโศธา แล้วเอาทารกของนาง ยโศธาเปลี่ยนตัวแทนแต่พญากงส์ทราบเข้าจึงสั่งให้ฆ่าทารกเสียทั้งหมดแล้วให้ราชบุรุษจับตัวพระกฤษณะมาให้ได้
นันทะและนางยโศธาจึงพาพระกฤษณะ ไปอยู่ที่ตำบล พฤนทาพน พระกฤษณะจึงเติบโตท่ามกลางหมู่โคบาล และให้ความอนุเคราะห์เหล่าโคบาลนี้ ระหว่างนั้นได้แสดงปาฏิหารย์มากมาย อย่างเช่น ยกภูเขาโควรรธนะ จนสามารถมีชัยเหนือพระอินทร์ จนได้ชื่อว่า อุเปนทร = ดีกว่าพระอินทร์ รวมถึง ปราบพญานาค กาลียะ ฯลฯ ญากงส์พยายามที่จะสังหาร พระกฤษณะหลายครั้ง ในที่สุดพญากงส์เชิญให้ไปเล่นสรรพกิฬาในเมืองมถุรา พญากงส์ได้วางตัวมวยปล้ำที่เก่งที่สุดเอาไว้เพื่อกำจัดพระกฤษณะ โดยเฉพาะ แต่พระกฤษณะสามารถเอาชนะได้และได้ฆ่าพญากงส์ตาย จากนั้นจึงพระเจ้าอุคระเสนขึ้นครองเมือง
พิธีการบูชา ชาวฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เชื่อว่าพระกฤษณะเทพ คือเทพแห่งความรักเสียงเพลงและการรำฟ้อน พิธีการบูชา ผู้นับถือจะบูชาพระกฤษณะเทพโดยจัดให้มีการแสดงระบำราศสีลา ถวายพระองค์ ซึ่งระบำราศสีลาเป็นการ ถ่ายทอดมาจากช่วงวัยหนุ่มของพระกฤษณะ ในขณะเต้นรำกลางแสงจันทร์กับหมู่หญิงเลี้ยงโคกลาง ทุ่งหญ้า อันกว้างใหญ่ในพิธีบูชาการแสดงนี้จะแสดงตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงกลางคืน จะเต้นรำกลางลานกว้าง คัมภีร์พราหมณ์ กล่าวถึงว่า ในเทศกาลโฮลี่นอกเหนือจากการบูชาพระกามเทพแล้ว ชาวฮินดูบางแคว้น เชื่อว่าต้นกำเนิดเทศกาลโฮลี่นี้ เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะซึ่งเป็นปางอวตารของพระวิษณุ เทศกาลโฮลี่ คือพิธีเพื่อระลึกถึงพระกฤษณะที่รบชนะนางยักษิณี นามว่า ปุตนะ เรื่องเล่าไว้ว่าในช่วง พระกฤษณะยังเยาว์วัยอยู่ อสูรนามว่า กังสะ ผู้เป็นลุงต้องการฆ่าพระองค์จึงสั่งให้นาง ยักษิณีปุตนะฆ่าเด็กที่มีอยู่ให้ตายทั้งหมด นางยักษิณีปุตนะจึงแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อจับเด็กทั้งหลายมาฆ่าทิ้งจนเมื่อเดินทาง จนพบกับพระกฤษณะ พระกฤษณะทรงทราบว่าเป็นนางยักษิณีแปลงกายเป็นมนุษย์จึงเข้าต่อสู้ได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นพระองค์จึงฆ่านางยักษิณีตนนี้ และนำเลือดของนางมาเป็นอาหาร พิธีกรรมการบูชา ชาวเมืองมถุราจะทำหุ่นจำลองขนาดใหญ่ของนางยักษิณีปุตนะ สร้างจากโครงไม้ไผ่ติดกระดาษนำมาทาสี และนำไฟเผาหุ่นนั้น โดยมีการร้องรำทำเพลง และนำสีฝุ่นมาสาดกันอย่างสนุกสนาน และมีการจุดไฟกองใหญ่เพื่อรำลึกถึงเหตุการณืที่พระกฤษณะรบชนะนางยักษิณีปุตนะ
ตำนานความเป็นมาของชื่อ “กฤษณา” จากคัมภีร์ตรีมูรติ ซึ่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด
หลักคัมภีร์ตรีมูรติ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 800 โดยพราหมณ์ได้แบ่งหน้าที่ ให้ดังนี้
1.พระพรหม เป็นเทพผู้สร้าง คือสิ่งสมบูรณ์สูงสุด ควบคุมทุกอย่างในจักรวาล สร้างสรรพสิ่งในจักรวาล พระพรหมจึงมีฐานะเป็นเทพเจ้าสูงสุดมีพระมเหสี ชื่อ “พระสรัสวดี”
2.พระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นเทพผู้รักษา ภาพพระวิษณุนิยมทำเป็นรูป 4 กร ทรงตรีขรรค์ คฑา จักร และสังข์ มีชายา ชื่อ พระลักษมี พระวิษณุ ได้ลงมาอวตารเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกที่ผ่านมามี 9 ปาง ปางที่ 7 คือพระราม ปางที่ 8 คือ ปางกฤษณะ (เกิดมาปราบคนชั่ว) และปางที่ 9 คือปางพระพุทธเจ้า( สถาปนาศาสนาพุทธ) ปางอวตารเป็นพระพุทธเจ้าของพระวิษณุ ซึ่งพราหมณ์มิอาจหยุดความรุ่งเรืองของพระพุทธเจ้าได้ จึงนำเข้ามาเป็นหลักในศาสนา เพื่อการยอมรับและไม่มีความแตกแยกในสังคมศาสนาในอดีต
3.พระศิวะ (พระอิศวร) เป็นเทพผู้ทำลาย ภาพพระศิวะ นิยมทำเป็นรูปฤาษีนุ่งห่มหนังสัตว์ประทับนั่งบนหนังเสือ มี 4 กร ถือ ตรีศูล ธนู ห้อยพระศอด้วยประคำหัวกะโหลก มีงูเป็นสังวาล มีพระมเหสี คือ พระแม่อุมาเทวี หลักตรีมูรติจึงมีผู้สร้าง ผู้รักษา และ ผู้ทำลาย เป็นการจำลองให้เห็นถึงสังคมมนุษย์ว่าโดยภาพรวมย่อมมีบุคคลสามประเภทที่ปะปนอยู่
พระรูปของพระกฤษณะ มีลักษณะผมมุ่น เสียบดอกไม้ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัว อีกข้างหนึ่งถือขลุ่ย ที่ทำจากไม้ชนิดหนึ่ง ในบรรดาเทพเจ้าของชาวฮินดู พระกฤษณะทรงมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด ตั้งแต่การดำเนินชีวิตในวัยเด็ก จนทรงเจริญวัยมากขึ้นในที่สุดพระกฤษณะก็กลายเป็นนักปราชญ์ ผู้ปราดเปรื่องในรูปแบบการบูชาแรก ๆ ของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีความสัมพันธ์กันมากระหว่างพืชพันธุ์กับแก่นของความศักดิ์สิทธิ์ ในตำนานมีการใช้ที่นั่งและแท่นดอกบัวกันมาก เทพหลาย ๆ องค์ต่างก็อยู่บนที่นั่งหรือแท่นดอกบัว ซึ่งดอกบัวเปรียบดั่งดวงอาทิตย์เนื่องจากดอกบัวจะบานและหุบตามเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตก ดังนั้นในสมัยฮินดูโบราณจึงกล่าวว่า ดอกบัวเป็นที่อยู่อาศัยของพระอาทิตย์ การใช้สัญลักษณ์ดอกบัว แสดงให้เห็นถึงอะไรที่อยู่เหนือมนุษย์ หรือการเกิดที่ศักดิ์สิทธิ์ ดอกบัวที่งดงามมิได้เกิดจากพื้นดินที่ต่ำต้อยหากแต่เกิดจากผิวน้ำที่บริสุทธิ์เสมอ ไม่มีมัวหมอง ชาวฮินดูนำเมล็ดดอกบัวมาทำเป็นลูกประคำถือว่าดอกบัวแทนการกำเนิดที่เหนือธรรมชาติที่เป็นสิ่งแรกที่กำเนิดจากน้ำในสมัยโบราณและเป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
ในทางศาสนาพุทธ ประวัติของพระพุทธศาสนาโดยรวม ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู จากประวัติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์หลังจากเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรอันเป็นชาติสุดท้าย ก็ไปจุติไปประทับอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อ ประทับที่สวรรค์พอสมควรแล้ว เทพเทวดาในสวรรค์ทุกชั้นจึงอารธนาให้มาจุติในโลก เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับอารธนา จากตำนานอินเดียในอดีตได้กล่าวไว้ว่าเมื่อประสูติ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัวเช่นเดียวกับพระกฤษณะ พระหัตถ์อีกข้างหนึ่งถือไม้กฤษณา เป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแนวคิดทางศาสนา
นอกจากนี้ในวรรณคดีไทย เรื่อง “กฤษณาสอนน้องคำฉันท์” เป็นวรรณคดีที่มีมานานตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยาตกทอดมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 3 แห่ง กรุงรัตนโกสิน ทรงโปรดให้แต่งใหม่ทั้งหมดโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตโนรส จนถึงปี พ.ศ. 2377 อันเป็นปีที่พระองค์ทรง ปฎิสังขรวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเสร็จเรียบร้อย โปรดเกล้าให้จารึกความรู้แขนงต่าง ๆ บนแผ่นหินอ่อน ประดิษฐานไว้ รวมทั้งเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์
รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ที่มาของวรรณคดี เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นพระองค์
แรกว่ามีที่มาจากประเทศอินเดียวทำให้สามารถติดตามเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ไปจนถึงที่สุดซึ่งคือบรรพหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะที่เป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันออก ที่ประพันธุ์โดยฤาษีวยาส ในศาสนาพราหมณ์ ในเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะ และ พระนางกฤษณา
คำว่า “กฤษณะ” หมายถึงผู้ที่มีผิวดำ ส่วน “กฤษณา” จะหมายถึง เนื้อไม้ส่วนที่มีสีดำสะสมเป็นสารกฤษณา
จากตำนานต่าง ๆที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ในทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูที่กล่าวถึงคำว่ากฤษณาหลาย ๆ เรื่องพอที่จะกล่าวไว้ว่า กฤษณาเกี่ยวข้องกับคำว่า กฤษณะ หรือมาจากคำว่า“กฤษณะ” เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็น เทพผู้รักษา ซึ่งในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และ ศาสนาพุทธ จึงให้ความเคารพไม้กฤษณาว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ต้องปกป้องรักษาไว้รวมทั้งในศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ จึงมีการใช้ไม้กฤษณาในพระราชพิธีต่าง ๆ เมื่อไม้กฤษณาเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์จึงไม่สมควรตัดไม้กฤษณาทำลายป่าอีกต่อไป
เพราะเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน หากไม่ปลูกทดแทน ทรัพย์สินที่ได้มา จะกลับคืนสู่แผ่นดินในที่สุดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของมนุษย์อย่างชัดเจนเป็นแรงศรัทธาที่พร้อมจะโน้มน้าวหรือชักจูงให้มนุษย์กระทำอะไรก็ตาม ตามความฝันของตัวเองจนบรรลุผลสำเร็จ การเผ้ามองสิ่งที่เกิดในธรรมชาติเช่นกฤษณาอย่างละเอียดอ่อนแล้วแสดงความเคารพเพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุลที่จะดำรงอยู่และเป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดเหนี่ยวจิตใจ และความเชื่อมั่นของคนมาโดยตลอดการปลูกไม้กฤษณาจึงถือเป็นสิริมงคลของชีวิตเสมือนการจุดธูปหลายล้านดอก และสมควรที่จะใช้ประโยชน์จากไม้กฤษณาปลูกเท่านั้นเพราะปัจจุบันไม้กฤษณาปลูกสามารถกระตุ้นให้หลั่งสารกฤษณาได้เร็วกว่าที่เกิดในธรรมชาติถึง 10 เท่ามีศักยภาพสูงมากพอในเชิงเศรษฐกิจ
แหล่งเก็บข้อมูล
https://sites.google.com/site/vicewyv/phra-kvsna